ตอนที่แล้วได้พูดถึง "ความพอเพียง" กับ "ปริมาณการใช้งานอย่างแท้จริง" ทั้งสองคำนี้เกี่ยวเนื่องกับความต้องการพื้นฐานด้านโทรคมนาคมอย่างหลีก เลี่ยงไมได้ เนื่องจากความต้องการื้นฐานควรจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่ฟุ้งเฟ้อเกิน ความจำเป็นเพราะต้องตอบสนองความต้องการพื้นฐานของสังคมได้โดยไม่สร้างความ เกินพอดีให้กับสังคม
     ความต้องการพื้นฐานด้านโทรคมนาคมเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องการนิยามและต้องตอบ สนองต่อความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริงไม่เช่นนั้นแล้วการส่งเสริมโครง สร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมให้กับพื้นที่ห่างไกลอาจจะเป็นการสร้างถนน แห่งอบายมุขและอาชญากรรมสู่สังสคมที่บริสุทธิ์ในชนบทและเป็นการสร้างความไม่ สมดุลย์ให้กับโลก สังคมและมนุษย์ตามแนวทาง Green Concept
ผู้เขียนในฐานะที่เป็นผู้ดูแลหลักสูตรปริญญาโทการจัดการธุรกิจโทรคมนาคมและบรอด คาสติ้ง ม.พระจอมเกล้าธนบุรี เคยทำการวิจัยและวิเคราะห์ความต้องการขั้นพื้นฐานด้านการสื่อสารของผู้ บริโภค โดยน้อมนำแนวพระราชดำริเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นกรอบในการพิจารณา ความพอเพียงด้านความต้องการโทรคมนาคมหรืออีกนัยหนึ่งก็คือการพิจารณาความ ต้องการพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของมนุษย์ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการผสมผสานแนวคิดในด้านการจัดการองค์ความรู้ หรือสังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงแทคโนโลยี ที่เกิดจากการหลอมรวมของเทคโนโลยี (Technology Convergence) และการเปิดเสรีทางการค้า (Liberalization) ที่มีต่อความต้องการพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของไทยเพื่อให้ได้โครงสร้างขั้น พื้นฐานที่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้อย่างแท้จริง
 
     เนื่องจากความต้องการพื้นฐานนั้นมีความหมายที่สอดคล้องกับความพอเพียงในแนว ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมากในทุกด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพิจารณาถึงสาม แนวคิดหลัก (ความพอเพียง ความมีเหตุมีผล และภูมิคุ้มกัน) และสองเงื่อนไข (ความรู้และจริยธรรม) จะเห็นว่าแนวคิดนี้สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกระดับตั้งแต่ตัวบุคคลไปจนถึง ครอบครัว สังคมและระดับประเทศสอดรับกับแนววัตถุประสงค์ของ USO ซึ่งต้องการให้เกิดผลกระทบจากการกระจายบริการโทรคมนาคมให้ครอบคลุมและสร้าง ความเข้มแข็ง (ภูมิคุ้มกัน) ให้กับประชาชนในสังคมทุกระดับ ปัจจุบันระบบสื่อสารไร้สายได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมากซึ่งเป็นไปตามแนว โน้มของตลาดบริการด้านการสื่อสารที่น่าจะคาดเดาได้ ประเด็นที่น่าพิจารณาในที่นี้ไม่ใช่ประเด็นการเลือกใช้เทคโนโลยีว่าจะเป็น Wireline หรือ Wireless หากแต่เป็นประเด็นที่ว่าการดำเนินนโยบายการให้บริการUSO ควรเป็นบริการที่ตอบสนองความต้องการปัจจุบันของผู้ใช้บริการอย่างแท้จริง หรือควรเป็นบริการที่มุ่งเน้นการขยายโครงข่ายให้ครอบคลุมเป็นหลัก
 
 
     เป็นที่น่าสังเกตุว่าพื้นที่ที่โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมยังไม่สามารถ กระจายให้ทั่วถึงและตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการได้ กระแสความนิยมในการใช้บริการการการสื่อสารไร้สายจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วใน อัตราที่สูงกว่าประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างมากและพื้นที่เหล่านี้มักจะเป็น พื้นที่ที่เป็นเขตการให้บริการUSO เช่นกัน ซึ่งชี้ชัดว่าความต้องการของผู้บริโภคโดยส่วนใหญ่มีความเห็นตรงกันในเรื่อง ของความต้องการบริการด้านสื่อสารไร้สายมากกว่า ถ้ามองอย่างผิวเผินอาจจะมีความรู้สึกว่าคำตอบนี้อาจไม่ได้มาจากความต้องการ พื้นฐานจริงแต่เป็นความต้องการตามกระแสความนิยมและความสะดวกสบาย แต่อย่าลืมว่าในอดีตการเริ่มต้นของการมีเทคโนโลยีใช้ในชีวิตประจำวันเช่น ระบบการกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ ระบบโทรศัพท์ (Wireline) ก็ถือว่าเป็นกระแสนิยม จนถึงจุดที่เทคโนโลยีเหล่านี้แทรกซึมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราก็จะไม่รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นกระแสนิยมแต่ได้กลายเป็นความต้องการ พื้นฐาน หรือเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตในที่สุด
 
     อย่างไรก็ตามความหมายของการบริการไร้สายในความเข้าใจของผู้บริโภคเป็นความ หมายเพียงแค่เฉพาะ Access Layer หรือ Last Mile ดังนั้นความต้องการระบบสื่อสารไร้สายของผู้บริโภคจึงน่าจะหมายถึงความต้อง การในรูปแบบของบริการและคุณลักษณะของบริการแบบไร้สายมากกว่าความต้องการโครง ข่ายแบบไร้สาย เช่นความสะดวกในการเข้าถึง การสร้างความปลอดภัยให้กับชีวิต การสร้างโอกาสการรับรู้ข่าวสารสำคัญแบบทันเหตุการณ์ เป็นต้น ซึ่งถ้าบริการพื้นฐานของ USO สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ การต้องการบริการไร้สายของผู้บริโภคก็เชื่อว่าน่าจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ คำตอบของการดำเนินนโยบายการให้บริการ USO จึงควรเป็นการให้บริการที่สะท้อนถึงความพอเพียงในการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันการวางโครงข่ายการให้บริการนั้นก็จะต้องเป็นการวางโครงข่าย ที่เหมาะสมกับการใช้งานของพื้นที่หรือของกลุ่มคนเหล่านั้นอย่างแท้จริง จึงเป็นข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการกำหนดบริการของ USO ควรคำนึงถึงองค์ประกอบพื้นฐานอื่นๆหรือควรเกิดจากการดำเนินการแบบบูรณาการ ของหลายองค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการยกระดับการครองชีพหรือการดำเนินชีวิต ของกลุ่มคนทุกประเภทให้มีโอกาสทัดเทียมกันในสังคม